<*marquee width="600"scrollamount="3"scrolldelay="80"><*font color="#F5F5DC" style="font-size:24px">**ใส่ข้อความที่เราต้องการ ใส่ข้อความที่เราต้องการ **<*/font><*/marquee>

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

สร้าง Selection ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือ Quick Selection Tool

Quick Selection Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้เลือกขอบเขตวัตถุที่พัฒนามาจาก Magic Wand Tool แต่จะพิเศษกว่าตรงที่สามารถเลือกขอบเขตได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถปรับแต่งเส้นขอบในภายหลังได้ด้วย โดยวิธีการใช้งาน Quick Selection Tool ทำได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. เปิดภาพชื่อ Chapter11-001.JPG
2. สร้างสำเนาเลเยอร์ Background โดยการกดปุ่ม Ctrl+J
3. คลิกเครื่องมือ Quick Selection Tool เพื่อเริ่มต้นการทำงาน
4. กำหนดขนาดหัวแปรงโดยให้ Brush = 35 px
5. คลิกแล้วแดรกเมาส์ เพื่อสร้าง Selection คลุมส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการ

หมายเหตุ ในกรณีที่ Selection เกินขอบเขตที่ต้องการ สามารถแก้ไขได้โดยการ กด Alt+คลิกบน Selection ส่วนที่ไม่ต้องการออกได้

ปรับแต่ง Selection ด้วย Refine Edge

Refine Edge เป็นคำสั่งใหม่ที่ใช้สำหรับปรับแต่ง Selection ที่สร้างไว้แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายการใช้ Layer Mask แต่มีวิธีการใช้งานที่ง่ายกว่า ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. สร้าง Selection ให้กับภาพที่ต้องการ
2. คลิกปุ่ม Reline Edge... เพื่อปรับแต่ง Selection ใหม่
3. คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า Preview เพื่อให้แสดงผลของการปรับแต่ง
4. คลิกเลือกรูปแบบการแสดงผล เพื่อให้เห็นขอบเขตของ Selection ได้ชัดเจนที่สุด
5. ลักษณะของ Selection ถูกแสดงขึ้นมาชัดเจนขึ้น
6. ปรับแต่งค่าต่าง ๆ เพื่อให้ Selection ที่สร้างไว้ดูดีที่สุด
7. คลิกปุ่ม OK เมื่อปรับแต่งค่าเรียบร้อยแล้ว
8. ลักษณะของ Selection ที่พร้อมนำไปใช้งานจะต้องเป็นจุดไข่ปลาวิ่ง
9. คลิกปุ่ม Add layer mask เพื่อซ่อนส่วนที่ไม่ต้องการของภาพ
10. คลิกซ่อนเลเยอร์ Background
11. ลักษณะของภาพที่ได้ ซึ่งจะเห็นขอบเขตของส่วนทีเลือกไว้อย่างชัดเจน
12. นำภาพไปใช้ในการตกแต่งได้ตามต้องการ

คำสั่ง Refine Edge เป็นคำสั่งใหม่ที่ใช้ปรับขอบเขตของ Selection ที่ได้สร้างไว้แล้ว ซึ่งการปรับแต่งแต่ละส่วนสามารถสรุปมาได้ดังนี้
- Radius ใช้สำหรับปรับระยะของเส้นขอบให้ดูนุ่มนวลหรือคมชัด
- Contrast ใช้ปรับเส้นขอบหยัก ๆ ให้คมชัดมากขึ้น
- Smooth ใช้ปรับเส้นขอบที่หยาบให้ดูเนียนเรียบขึ้น
- Feather ใช้ปรับเพื่อเพิ่มความนุ่มนวลของเส้นขอบให้มากขึ้น แต่ยิ่ง
เพิ่มค่ามากก็จะทำให้ภาพดูเบลอขึ้นด้วย
- Contract/Expand ใช้ปรับเพิ่มหรือลดขอบเขตของ Selection ที่สร้างไว้

สร้างมาร์คง่าย ๆ ด้วย Selection Tool (chapter6-001.psd)

1. เปิดภาพ
2. ปรากฏ 2 เลเยอร์ที่พร้อมใช้งานสำหรับการสร้างมาร์ค (เนื่องจากภาพที่เปิดยังไม่ได้รวมเลเยอร์ )
3. ใช้เครื่องมือ Magic Wand สร้าง Selection คลุมท้องฟ้า โดยกดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วคลิกซ้ำ ๆ จนเต็มพื้นที่
4. กดปุ่ม Ctrl + Shift + l เพื่อสลับพื้นที่การ Selection ให้ครอบคลุมส่วนที่เป็นภูเขาและถนน
5. คลิกปุ่ม Add layer mask เพื่อสร้างเลเยอร์มาร์คซ่อนบริเวณที่สร้าง selection w;h
6. ลักษณะของ Layer Mask thumbnail ซึ่งสีดำเป็นขอบเขตที่ถูกซ่อน และสีขาวเป็นขอบเขตที่ยังแสดงไว้ตามปกติ
7. ลักษณะของภาพที่ได้มีท้องฟ้าที่เปลี่ยนไปเป็นรูปท้องฟ้าของเลเยอร์ Background

แต่งภาพแนวแฟชั่นด้วยเทคนิค Cross Process

Cross Process คือ กระบวนการที่นิยมทำสำหรับภาพถ่ายแนวแฟชั่นที่ต้องการให้เกิดความผิดเพี้ยนของสี และมีคอนทราสต์ที่จัดจ้านมากขึ้น ซึ่งมีกระบวนการทำโดยนำฟิล์มสไลด์ไปล้างในน้ำยา C-41 ซึ่งเป็นน้ำยาสำหรับล้างฟิล์มเนกาทีฟ ทำให้ภาพที่ได้มีสีที่จัดมากขึ้น และอีกวิธีหนึ่งคือ การนำฟิล์มเนากาทีฟที่นิยมใช้ถ่ายภาพทั่วไปมาล้างในน้ำยา E+6 ซึ่งเป็นน้ำยาที่ใช้ล้างฟิล์มสไลด์ วิธีนี้จะได้ภาพที่มีสีตุ่น ๆ มัว ๆ ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก
ปัจจุบันการใช้ฟิล์มถ่ายภาพอาจจะลดลงมาก การทำ Cross Process สำหรับภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอลจึงต้องอาศัยกระบวนการ Post Process จาก Photoshop ซึ่งมีหลักการที่ง่าย ๆ และสามารถปรับแต่งให้ภาพมีสีที่ได้อย่างต้องการ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. เปิดภาพชื่อ chapter9-008.jpg
2. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer แล้วเลือกคำสั่ง Curves เพื่อเริ่มต้นการปรับแต่งคอนทราสต์
3. ปรับแต่ง Curves ของ Channel RGB ให้มีลักษณะแบบ “S Curves”เพื่อเพิ่มคอนทราสต์ให้กับภาพ
4. ภาพมีคอนทราสต์จัดขึ้น โดยจะเห็นแสงและเงามากขึ้นกว่าเดิม
5. คลิกเลือก Channel Red เพื่อปรับแต่งคอนทราสต์ให้กับ Channel สีแดง
6. ปรับแต่ง Curves โดยดึงจุด Highlight ขึ้นเพื่อเร่งสีแดง และดึง Shadow ลงเพื่อเร่งเงาให้อมเขียวเล็กน้อย
7. ลักษณะภาพที่ได้มีส่วนสว่างที่อมแดง และเงามีสีอมเขียวมากขึ้น
8. คลิกเลือก Channel Green เพื่อปรับแต่งคอนทราสต์ให้กับ Channel สีเขียว
9. ปรับแต่ง Curves โดยเพิ่มสีเขียวให้กับภาพโดยดึงจุด Highlight ขึ้น และเพิ่มเงาให้มีสีแดงอมชมพูโดยดึงจุด Shadow ลงเล็กน้อย
10. ลักษณะของภาพที่ได้มีสีอมเหลืองและมีคอนทราสต์เพิ่มมากขึ้น
11. คลิกเลือก Channel Blue เพื่อปรับแต่งคอนทราสต์ให้กับ Channel สีน้ำเงิน
12. ปรับแต่ง Curves โดยคลิกกำหนดจุด Midtone ให้คงที่ แล้วดึงจุดยึดของ Shadow ขึ้นเพื่อเร่งส่วนเงาให้อมสีน้ำเงิน
13. ลักษณะภาพที่ได้มีเงากลายเป็นสีดำอมน้ำเงินและคอนทราสต์จัดมากขึ้นแล้ว
14. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Shift+E เพื่อรวมทุกเลเยอร์ให้เป็นเลเยอร์ใหม่ไว้ด้านบน
15. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Overlay เพื่อเพิ่มคอนทราสต์ให้สูงขึ้น และลดค่า Opacity เพื่อเพิ่ม คอนทราสต์ให้สูงขึ้น และลดค่า Opacity ลง เพื่อไม่ให้รายละเอียดของภาพสูญหายมากเกินไป
16. ลักษณะภาพที่ได้มีสีจัดจ้านและมีคอนทราสต์รุนแรงมากขึ้น

แก้ปัญหานางแบบ / นายแบบฟันเหลือง

มีเครื่องมืออยู่หลายตัวที่ช่วยแต่งฟันให้ขาวขึ้น เช่น เครื่องมือ Set Whit Point ในคำสั่ง Levels หรือ Curves แต่ผลที่ได้อาจไม่ดีเท่าใดนัก เพราะอาจจะทำให้ภาพทั้งภาพสว่างขึ้นไปด้วย เพราะจุด White Point เปลี่ยนไป ซึ่งอีกวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหานางแบบ นายแบบฟันเหลืองได้ คือ การใช้ Layer Mask ร่วมกับ Layer Blending ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิดภาพชื่อ Chapter9-004.jpg
2. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อสร้างสำเนาเลเยอร์ Background ขึ้นมาใหม่
3. สร้าง Selection รอบขอบเขตของฟันทั้งหมด โดยสามารถใช้เครื่องมือใดก็ได้ในกลุ่ม Selection
4. คลิกเมนู Select > Feather เพื่อกำหนดให้ขอบ Selection ฟุ้งกระจายเล็กน้อย เพราะเวลาปรับสีเส้นขอบจะได้ดูไม่คมเกินไป
5. กำหนดค่าให้ Feather Radius = 3 pixels
6. คลิกปุ่ม Add layer mask เพื่อซ่อนพื้นที่รอบนอกขอบเขตของฟัน
7. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Selective Color เพื่อเรียกหน้าต่างการปรับแต่งสีขึ้นมา
8. คลิกเลือก Colors = Yellows เพื่อใช้สำหรับการปรับลดสีเหลือง
9. แดรกเมาส์ลากแถบเลื่อนของสีเหลืองไปทางซ้ายสุด เพื่อลดสีเหลืองของภาพให้หายไปทั้งหมด
10. คลิกปุ่ม OK
11. Alt + คลิก ที่รอยต่อระหว่างเลเยอร์ Selective Color 1 กับ Layer 1 เพื่อกำหนดให้ค่าที่ได้จากการปรับแต่งมีผลเท่ากับขอบเขตใน Layer 1 เท่านั้น
12. ภาพผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งพื้นบริเวณฟันดูขาวสะอาดขึ้นแล้ว
13. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อสำเนาเลเยอร์ Selective Color 1 ขึ้นมาใหม่
14. Alt + คลิก ที่รอยต่อระหว่างเลเยอร์ เพื่อซ่อนค่าจากการปรับแต่งที่อยู่รอบนอก
15. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Soft Light เพื่อเพิ่มคอนทราสต์ให้สูงขึ้น
16. ปรับลดค่า Opacity ลง เพื่อไม่ให้ฟันดูขาวเกินไป

แก้ไขภาพบิดเบี้ยวด้วย Lens Correction

การถ่ายภาพตึกสูงในมุมเงย หรือการถ่ายภาพมุมต่ำโดยกดกล้องลง รวมถึงการถ่ายภาพโดยใช้เลนส์มุมกว้าง มักจะมีข้างเคียง คือ อาจทำให้ภาพที่ได้ดูเอียง หรือมีสัดส่วนที่ผิดเพี้ยนไป (ไม่เกี่ยวกับฝีมือการถ่ายภาพ และการจัดองค์ประกอบ) นอกจากนี้การใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพที่อยู่ใกล้เกินไป ก็อาจได้ภาพที่ป่องตรงกลาง
แก้ไขปัญหาของภาพที่มีมุมมองผิดสัดส่วน สามารถทำได้ด้วยคำสั่ง Lens Correction ที่เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตากล้องโดยเฉพาะ ซึ่งบานหน้าต่างการปรับแต่งที่สำคัญมีดังนี้
Remove Distortion ใช้สำหรับแก้ไขภาพที่มีลักษณะป่องกลาง หรือภาพที่ดูยุบลึกลงไป
Chromatic Aberration ใช้สำหรับการแก้ไขภาพที่มีสีเหลืองออกมาจากขอบวัตถุ
Vignette ใช้สำหรับปรับแต่งให้ตรงกลางภาพดูเด่นขึ้น โดยการเพิ่มขอบสีที่มุมทั้ง 4 ด้าน และปรับให้ภาพสว่างขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
Transform ใช้สำหรับปรับแต่งภาพที่มีมุมมองผิดปกติ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เช่น ส่วนฐานของภาพดูกว้างกว่าส่วนบน
Angle คือ การปรับแนวระนาบของภาพใหม่
Scale ใช้สำหรับเพิ่มหรือลดสัดส่วนของภาพเพื่อซ่อน หรือแสดงพื้นที่บางส่วนหลังจากการปรับแต่งเสร็จแล้ว
Tool เป้นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่ง ทำหน้าที่เช่นเดียวกับการปรับแต่งโดยแถบเลื่อนทางด้านขวามือ แต่จะเห็นผลการปรับแต่งทันที
1. เปิดภาพชื่อ chapter7-003.jpg
2. คลิกเมนู Filter > Distort > Lens Correction เพื่อเรียกใช้คำสั่งสำหรับปรับแต่งภาพ
3. กำหนดค่าให้ Fix Red/Cyan Fringe = +60 เพื่อลดเส้นขอบสีเขียว
4. กำหนดค่าให้ Vertical Perspective = -30 เพื่อลดฐานของภาพให้แคบลง ดูสมดุลกับยอดตึกมากขึ้น
5. คลิกเครื่องมือ Straighten Tool เพื่อใช้แก้ไขแนวระนาบของภาพที่เอียงอยู่ให้ตรงขึ้น
6. แดรกเมาส์เป็นเส้นตรงบริเวณยอดตึกทั้ง 2 เพื่อให้ยอดตึกดูสูงเท่ากัน
7. กำหนดค่าให้ Scale = 95% เพื่อลดสัดส่วนของภาพให้เล็กลงและมองเห็นท้องฟ้าได้มากขึ้น
8. คลิกปุ่ม OK เมื่อปรับแต่งค่าเรียบร้อยแล้ว
9. ลักษณะของภาพที่ได้หลังจากปรับแต่งค่าแล้ว ซึ่งจะเห็นว่ามีพื้นที่บางส่วนหายไป
10. ใช้เครื่องมือ Rectangular Marquee Tool สร้าง Selection คลุมภาพ
11. คลิกเมนู Image > Crop เพื่อตัดพื้นที่รอบนอก Selection ทิ้งไป
12. ภาพผลลัพธ์ที่ได้ดูสมบูรณ์มากขึ้น
13. ตกแต่งเพิ่มเติม โดยเพิ่มความคมชัดด้วยฟิลเตอร์ Unsharp mask และเพิ่มเติมสีสันให้สดใสมากขึ้น

แก่ไขปัญหาความเปรียบต่างของแสงด้วยเลเยอร์มาส์ค

Step 1 ปรับแต่งภาพเบื้องต้น
ก่อนที่จะเริ่มต้นปรับแต่ง สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การปรับแสงของภาพให้สมดุลกันก่อน โดยต้องกำหนดจุดมือและจุดสว่าง โดยจะใช้เครื่องมือ Color Sampler Tool และคำสั่ง Threshold และ Levels กำหนดค่า ซึ่งมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. เปิดภาพชื่อ Chapter6-005.Jpg
2. คลิกเครื่องมือ Color Sampler Tool เพื่อใช้เก็บค่าสีที่ต้องการนำไปกำหนดจุดมืดและจุดสว่างในภาพ
3. เลือก Sample Size เป็น 5 by 5 Average เพื่อนำค่าสีที่อยู่ใกล้เคียงไปใช้ด้วย
4. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Threshold เพื่อเรียกหน้าต่างการปรับแต่งขึ้นมา
5. แดรกเมาส์เลื่อนแถบไปทางซ้าย เพื่อแสดงพื้นที่ที่เป็นจุดมืดสุดของภาพ
6. Shift + คลิก บริเวณสีดำที่กว้างที่สุด เพื่อกำหนดจุดอ้างอิงส่วนที่มืดที่สุดของภาพ
7. แดรกเมาส์เลื่อนแถบไปทางขวา เพื่อแสดงพื้นที่สีขาวที่เป็นจุดสว่างสุดของภาพ
8. Shift + คลิก บริเวณสีขาวที่กว้างที่สุด เพื่อกำหนดจุดอ้างอิงส่วนที่สว่างที่สุดของภาพ
9. คลิกปุ่ม Cancel เพราะเราไม่ต้องการให้ภาพกลายเป็นสีขาวดำ
10. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Levels เพื่อเรียกหน้าต่างการปรับแต่งขึ้น
11. คลิกเครื่องมือ Set Black Point
12. คลิกจุด Color Sampler Point 1 เพื่อกำหนดให้พื้นที่ที่มีสีดำเท่าจุดนี้เป็นบริเวณที่มืดสุด
13. คลิกเครื่องมือ Set White Point
14. คลิกจุด Color Sampler Point 2 เพื่อกำหนดให้พื้นที่มีสีขาวเท่าจุดนี้เป็นบริเวณที่สว่างสุด
15. ภาพผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งจะมีระดับแสงที่ถูกต้องแล้ว
Step 2 กำหนดพื้นที่การปรับแต่งสี
หลังจากที่ปรับแต่งระดับแสงให้สมดุลแล้ว ขั้นต่อไปคือ การกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่ต้องการลดความสว่าง ซึ่งภาพที่ใช้ประกอบนี้มีท้องทะเลสว่างมากเกินไปจนมองไม่เห็นรายละเอียด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสร้าง Selection คลุมส่วนนี้ไว้ก่อน แล้วจึงปรับแต่ง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. คลิกเลเยอร์ Background
2. กดปุ่ม Ctrl +J เพื่อสร้างสำเนาของเลเยอร์ Background
3. คลิกพาเลท Channels
4. Ctrl + คลิก Channel Blue เพื่อสร้าง Selection ของบริเวณที่สว่างที่สุดของ Channel นี้
5. ปรากฏ Selection คลุมส่วนสว่างของภาพ
6. คลิกพาเลท Layers เพื่อเปลี่ยนการทำงานมาที่เลเยอร์
7. คลิกปุ่ม Add layer mask เพื่อสร้างมาส์คให้เลเยอร์ Background copy
8. คลิกเครื่องมือ Brush Tool
9. กำหนดหัวแปรงเป็นแบบฟุ้งกระจายขนาด 65 พิกเซล
10. ลดค่า Opacity เป็น 80% เพื่อลดความหนักของสีแปรงที่จะระบายลงไปบนภาพ
11. เปลี่ยนสี Foreground เป็นสีดำ เพื่อใช้ซ่อนพื้นที่บริเวณตัวคน
12. Alt + คลิก Layer mask Thumbnail เพื่อกำหนดให้แสดงพื้นที่ที่มาส์คไว้
13. ภาพแสดงพื้นที่ที่ถูกมาส์ค ซึ่งสีดำคือส่วนที่ถูกซ่อนไว้นั่นเอง
14. ระบายสีดำ ลงในส่วนที่เป็นตัวคนและพื้นที่ใกล้เคียง เพราะเราไม่ต้องการปรับลดความสว่างให้กับส่วนนี้
15. ระบายจนเต็มพื้นที่ เพื่อซ่อนรายละเอียดส่วนที่เป็นตัวคน
16. Alt + คลิก Layer mask thumbnail เพื่อกำหนดให้แสดงภาพต้นฉบับ
Step 3 ปรับลดความสว่าง
หลักจากที่สร้างมาร์คเพื่อซ่อนส่วนที่เป็นตัวคนไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การปรับลดความสว่างของพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้มาส์ค นั่นก็คือ ส่วนที่ป็นท้องทะเลให้สามารถแสดงรายละเอียดได้มากขึ้น โดยขั้นตอนการปรับแต่งสามารถทำได้ดังนี้
1. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Curves เพื่อเรียกหน้าต่างการปรับแต่งขึ้นมา
2. แดรกเมาส์เลื่อนจุดยึดลงด้านล่างเล็กน้อย เพื่อลดความสว่างของภาพ
3. พื้นที่ของภาพโดยรวมดูมืดลง และสามารถแสดงรายละเอียดของส่วนสว่างกได้มากขึ้น
4. Alt + คลิก ระหว่างเลเยอร์ Curves 1 และเลเยอร์ Background copy 1 เพื่อคลิปทั้ง 2 เลเยอร์เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นผลทำให้การปรับแต่ง Curves มีผลต่อพื้นที่รอบนอกของมาส์คเท่านั้น
5. ภาพที่ได้มีสีของท้องทะเลเข้มขึ้น และส่วนที่เป็นตัวคนยังเห็นรายละเอียดเหมือนเดิม


แก้ไขและแต่งภาพด้วยฟีเจอร์เด่น ๆ ใน Photoshop CS2

Adobe Photoshop CS2 ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยการเพิ่มฟีเจอร์เด่น ๆ หลายตัว เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นปัญหานอยส์ที่เกิดจากการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย ซึ่งสามารถใช้คำสั่ง Reduce Noise หรือปัญหาความเปรียบต่างของแสงสูงจนไม่สามารถเก้บรายละเอียดของภาพถ่ายได้ แต่ก็แก้ไขได้ด้วยคำสั่ง Merge to HRD หรือการแก้ไขภาพบิดเบี้ยวด้วย Lens Correction เป็นต้น

ลดนอยส์ด้วยคำสั่ง Reduce Noise
1. เปิดภาพชื่อ Chapter7-001.jpg
2. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อสร้างสำเนาเลเยอร์ Background
3. คลิกเมนู Filter > Noise > Reduce Noise
4. กำหนดค่าให้ Strength = 5 เพื่อกำหนดรัศมีของการลดนอยส์ ยิ่งกำหนดมากรายละเอียดของภาพจะลดลง
5. กำหนดค่าให้ Preserve Details = 35% เพื่อให้คงรายละเอียดของภาพไว้
6. กำหนดค่าให้ Reduce Color Noise = 50% เพื่อลดสีของนอยส์ให้จางลง แต่ถ้าลดมากไปนอยส์จะกลายเป็น สีขาวดำ ทำให้เกิด Grain มากขึ้น
7. กำหนดค่าให้ Sharpen Details = 40% เพื่อให้รายละเอียดคมชัดมากขึ้น
8. คลิกเลือก Advance เพื่อปรับลดนอยส์แบบขึ้นสูง
9. คลิกพาเลท Per Channel เพื่อปรับลดนอยส์ โดยสามารถเลือกทำเฉพาะสีที่มีปัญหามาก ๆ ได้
10. เลือก Channel Blue ซึ่งเป็นสีที่มีนอยส์สูงมาก
11. ปรับแต่งค่าโดยให้ Strength = 5 และ Preserve Details = 45% เพื่อลดนอยส์ใน Channel สีน้ำเงิน
12. คลิกปุ่ม OK ก็จะได้ภาพที่ดูสะอาดมากขึ้น

เทคนิคลบสิว ฝ้า กระแบบมืออาชีพ

1. เปิดภาพชื่อ Chapter9-002.jpg
2. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อสร้างสำเนาของเลเยอร์ Background ขึ้นมาใหม่
3. ปรากฏลำดับการทำงานในพาเลท History โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Layer Via Copy คือ ขั้นตอนที่ได้จากการสร้างสำเนาเลเยอร์ Background ขึ้นมา
4. คลิกเมนู Filter > Blur > Surface Blur เพื่อปรับให้สีผิวบนใบหน้าดูเนียนเรียบมากขึ้น
5. กำหนดค่าต่าง ๆ โดยให้ Radius = 10 pixels และ Threshold = 25 levels
6. ลักษณะภาพที่ได้จะมีสีผิวที่สม่ำเสมอมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาที่เส้นผมและรายละเอียดส่วนอื่น ๆ ที่เบลอไปด้วย
7. คลิกไอคอน History Brush Tool หน้าขั้นตอนของ Surface Blur เพื่อให้การใช้ History Brush นำภาพจากขั้นตอนนี้ไปใช้ได้
8. คลิกเลือก Layer Via Copy ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้จากการสร้างสำเนาเลเยอร์ Background ขึ้นมา ดังนั้น ภาพที่ปรากฏจึงเป็นภาพถ่ายขั้นตอนการใช้คำสั่ง Surface Blur
9. คลิกเครื่องมือ history Brush Tool
10. ปรับแต่งค่าโดยเลือกหัวแปรงแบบฟุ้งกระจายขนาด 45 พิกเซล
11. เลือกโหมดของแปรงเป็น Lighten เพื่อเปลี่ยนพื้นผิวบริเวณกระที่มืดให้สว่างขึ้น โดยนำพื้นผิวที่ได้จากการทำ Surface Blur มาใช้
12. กำหนดค่า Opacity =80% เพื่อให้การปรับแต่งแต่ละครั้งไม่เข้มมากเกินไป
13. ใช้เครื่องมือ History Brush ระบายทั่วบริเวณที่มีกระ โดยลดค่า Opacity ให้ต่ำลงเมื่อต้องระบายใกล้บริเวณดวงตาหรือเส้นผม เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่บริเวณนี้เบลอมากเกินไป
14. เปลี่ยนโหมดของแปรงเป็น Darken เพื่อปรับแต่งพื้นผิวบริเวณที่สว่างเกินไปให้ดูเนียนเรียบมากขึ้น
15. ใช้เครื่องมือ History Brush ระบายไปจนทั่วบริเวณที่สียังเรียบเสมอกัน
16. กดปุ่ม Ctrl + Alt +Shift + E เพื่อรวมเลเยอร์ทั้งหมดแล้วสร้างเป็นเลเยอร์ใหม่ไว้ด้านบนสุด
17. คลิกเมนู Filter > Other > High Pass เพื่อหาเส้นขอบส่วนที่คมชัดที่สุดของภาพ
18. กำหนดค่า Radius = 1.5 pixels เพื่อแสดงเส้นขอบส่วนที่ชัดที่สุดออกมา
19. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Hard Light เพื่อผสานรวม Layer 2 กับ Layer 1 โดยให้คงระดับความคมชัดตาม Layer 2 ไว้
20. ลดค่า Opacity ลงเพื่อให้เส้นขอบไม่คมชัดจนเกินไป

เทคนิคพิเศษสำหรับการปรับแต่งสีด้วย Hue/Saturation (chapter5-006.jpg)

1. เปิดภาพที่ต้องการปรับแต่ง เช่น ภาพวิวที่มีใบไม้
2. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Hue/Saturation เพื่อเรียกหน้าต่างการปรับแต่งขึ้นมา
3. คลิกเลือก Greens จากช่อง Edit เพื่อกำหนดสีเริ่มต้นในการปรับแต่งให้เป็นสีเขียวเท่านั้น
4. คลิกเครื่องมือ Add to Sample เพื่อเพิ่มพื้นที่การปรับแต่งสี
5. คลิกซ้ำ ๆ บนพื้นที่สีเขียว บนภาพ เพื่อให้การปรับแต่งสีครอบคลุมพื้นที่สีเขียวได้กว้างมากขึ้น
6. แดรกเมาส์เลื่อนแถบ Hue ไปทางซ้ายมือ จนเห็นใบไม้ส่วนใหญ่กลายเป็นสีส้ม
7. แดรกเมาส์เลื่อนแถบ Saturation ไปทางขวามือ เพื่อเพิ่มความอิ่มตัวให้กับสี
8. ภาพที่ได้จะเห็นว่าใบไม้สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีส้ม

เทคนิคการลบเงาบนใบหน้าด้วยเลเยอร์มาส์ค (chapter6-004.jpg)

1. เปิดภาพ
2. มีเงาทาบบนใบหน้าและไหล่เป็นวงกว้าง
3. กดปุ่ม Ctrl+J เพื่อสร้างสำเนาของเลเยอร์ Background ขึ้นมาใหม่
4. กดปุ่ม Ctrl + Alt + ~ เพื่อสร้าง Selection ให้กับส่วนที่เป็นไฮไลท์ของภาพ
5. คลิกปุ่ม Add layer mark เพื่อสร้างเลเยอร์มาส์คให้กับ Layer 1
6. ปรากฏ Layer mask thumbnail ของ Layer 1
7. กดปุ่ม Ctrl + I เพื่อสลับสีของมาส์คจากดำเป็นขาว และจากขาวเป็นดำ
8. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Screen เพื่อให้สีขาวที่อยู่ในเลเยอร์มาส์คเพิ่มความสว่างให้กับส่วนที่เป็นเงาในเลเยอร์ Background
9. ลักษณะของภาพที่ได้ ซึ่งพื้นที่ส่วนที่มืดในภาพดูสว่างขึ้น
10. คลิกเครื่องมือ Brush Tool
11. กำหนดหัวแปรงเป็นแบบฟุ้งกระจายขนาด 100 พิกเซล เพื่อให้ส่วนที่ถูกระบายดูนุ่มนวล
12. กำหนดค่า Opacity = 80% หรือต่ำกว่า เพื่อให้สีที่ระบายลงไปไม่เข้มเกินไป
13. เปลี่ยนสี Foreground เป็นสีดำ
14. Alt + คลิก ที่ Layer mask thumbnail เพื่อแสดงภาพของเลเยอร์มาส์คให้เป็นสีขาวดำ
15. ลักษณะของภาพเปลี่ยนไปเป็นภาพ Negative
16. ระบายสีดำลงไปบริเวณที่ไม่ต้องการให้ภาพดูสว่างขึ้น
17. Alt + คลิก Layer mask thumbnail อีกครั้งเพื่อแสดงภาพในโหมดสีปกติ
18. เงามืดบริเวณใบหน้าและลำคอสว่างขึ้น แต่ส่วนอื่น ๆ ยังคงระดับแสงเดิมไว้ได้
19. กดปุ่ม Ctrl + J สร้างสำเนาเลเยอร์ขึ้นมาอีกครั้งเพื่อทำส่วนที่เป็นเงาให้สว่างขึ้น
20. ลดค่า Opacity เพื่อให้ส่วนที่เป็นไอไลท์ไม่สว่างจนเกินไป
21. ภาพที่ได้เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะเห็นว่าเงาบนใบหน้าดูจางลงมาก

เทคนิคการปรับแต่งภาพด้วย Layer Mask และ Layer Blending

Layer Blending คือเทคนิคพิเสษที่มักนำไปใช้เมื่อต้องการทำให้ภาพมืดลง สว่างขึ้น เพื่อคอนทราสต์ หรือเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนสี แต่ให้คงระดับความสว่างเดิมไว้ ซึ่งการใช้ Layer Blending สามารถนำไปช่วยแก้ไขปัญหาสำหรับภาพที่ถ่ายออกมาแล้วอันเดอร์ หรือโอเวอร์เกินไป หรือจะใช้กับภาพที่มีคอนทราสต์ของสีต่ำเกินไปก็ได้
Layer Blending จะแบ่งโหมดของการทำงานออกเป็น 6 กลุ่ม แต่ที่นิยมใช้จะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ทำให้มืดลง ได้แก่ Darken, Multiply, Color Burn และ Linear Burn กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ทำให้ภาพสว่างขึ้น ได้แก่ Lighten, Screen, Color Dodge และ Linear Doge กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ทำให้เกิดคอนทราสต์จัดขึ้น ได้แก่ Overlay, Soft Light, Hard Light, Linear Light, Pin Light และ Hare Mix และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่จะจัดการปรับแต่งสีความสว่าง อันได้แก่ Hue,Saturation Color และ Luminosity ซึ่งแต่ละตัวจะให้ค่าต่างกันคือ ถ้าเลือกใช้ Hue จะผสมสีแต่ยังคงระดับความสว่างเดิมไว้ Saturation และ Color จะเป็นการผสมโดยยึดตามค่าความอิ่มตัวของสี และ Luminosity จะผสมโดยยึดตามระดับความสว่างของแสง ซึ่ง Layer Blending สามารถนำไปใช้หลากหลาย และใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ได้มากมาย ดังต่อไปนี้
1. เปิดภาพชื่อ Chapter6-008.jpg
2. กดปุ่ม Ctrl+J เพื่อสร้างสำเนาของเลเยอร์ Background
3. กดปุ่ม Ctrl + Alt เพื่อสร้าง Selection คลุมบริเวณที่เป็นไฮไลท์ของภาพ
4. คลิกปุ่ม Add layer mask เพื่อซ่อนพื้นที่นอก Selection
5. Alt + คลิก Layer mask thumbnail เพื่อแสดงขอบเขตการมาส์ค
6. ลักษณะของภาพที่ถูกเปลี่ยนเป็นสีขาวดำ
7. คลิกเมนู Image > Adjustments > Curves เพื่อปรับแต่งให้พื้นที่ของการมาส์คชัดเจนขึ้น
8. แดรกเมาส์ปรับแต่งเส้น Curves โดยลากจุดยืนของ Shadow และ Highlight ไปตรงกลาง เพื่อให้เกิดคอนทราสต์มากที่สุด
9. ลักษณะของมาส์คที่มีคอนทราสต์จัดขึ้นเมื่อปรับแต่ง Curves แล้ว
10. ใช้เครื่องมือ Brush Tool ระบายสีดำคลุมบริเวณตึกทั้งหมด
11. Alt + คลิก ที่ Layer mask thumbnail อีกครั้งเพื่อแสดงภาพต้นฉบับ
12. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Linear Burn เพื่อให้พื้นส่วนที่ไม่ได้มาส์คเข้มมากขึ้น
13. ลักษณะของภาพที่ได้ ซึ่งจะเห็นว่าท้องฟ้ามีสีเข้มขึ้นกว่าเดิม
14. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อทำสำเนา Layer 1 ขึ้นมาอีก 1 เลเยอร์
15. คลิกที่ Layer mask thumbnail แล้วกดปุ่ม Ctrl + I เพื่อสลับสีของมาส์คโดยให้พื้นที่สีดำคลุมบริเวณท้องฟ้าแทน
16. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Screen เพื่อให้พื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ถูกมาส์คสว่างขึ้น
17. ลักษณะของภาพที่ได้ จะเห็นว่าบริเวณตึกสว่างขึ้นกว่าเดิม
18. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อสร้างสำเนาของเลเยอร์ขึ้นมาอีกครั้ง
19. ลดค่า Opacity ลงเพื่อให้ภาพบริเวณตึกไม่สว่างเกินไป
20. ภาพที่ได้เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว ภาพบริเวณตึกจะสว่างขึ้นและในขณะเดียวกันท้องฟ้าก็มีสีเข้มขึ้นด้วย

เทคนิคการไดคัตภาพเส้นผมและการนำไปใช้

การไดคัตภาพผู้หญิงที่มีผมยาวสลวย หรือภาพถ่ายสัตว์ที่มีขนยาวปุกปุยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการมาส์คแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาตินั้น การใช้เครื่องมือ Selection ธรรมดาคงไม่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าไร สำหรับวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการมาส์คภาพลักษณะนี้คือ การสร้าง Selection โดยใช้ Channel ซึ่งขั้นตอนการมาส์คด้วยวิธีนี้อาจจะซับซ้อนเล็กน้อย แต่ภาพที่ได้จะดูเป็นธรรมชาติมากทีเดียว
Step 1 สร้างเลเยอร์มาส์คด้วย Channel
1. เปิดภาพชื่อ Chapter6-006.jpg
2. กดปุ่ม Ctrl + J เพื่อสร้างสำเนาของเลเยอร์ Background
3. เลือกพาเลท Channels เพื่อเริ่มต้นการทำเลเยอร์มาส์ค
4. คลิกเลือก Channel Green เพราะมีคอนทราสต์ระหว่างฉากหลังและเส้นผมชัดเจนที่สุด
5. ลักษณะภาพที่ได้ ซึ่งสีของเส้นผมที่ตัดกับฉากชัดเจนมากกว่า Channel อื่น ๆ
6. สร้างสำเนา Channel Green โดยลากไปปล่อยที่ไอคอน Create new channel
7. คลิกเมนู Image > Adjustments > Curves เพื่อปรับภาพให้สว่างมากขึ้น
8. แดรกเมาส์ดัดเส้น Curves เพื่อเพิ่มคอนทราสต์ให้เส้นผมตัดกับฉากหลังมากขึ้น
9. ลักษณะของเส้นผมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเห็นเป็นสีดำตัดกับฉากหลังสีขาว
10. คลิกเครื่องมือ Brush Tool
11. กำหนดค่าให้หัวแปรงเป็นแบบฟุ้งขนาด 100 พิกเซล และ Opacity = 70%
12. เปลี่ยนสี Foreground เป็นสีดำ เพื่อใช้กำหนดพื้นที่มาส์ค
13. ระบายสีดำทับลงไปบนภาพจนเต็ม โดยบริเวณเส้นผมไม่ต้องระบายให้เข้มมากนัก
14. สร้าง Selection โดยลากเลเยอร์ Channel Green copy ไปปล่อยที่ไอคอน Load Channel as Selection
15. กดปุ่ม Ctrl + Shift + I เพื่อสลับด้านของ Selection ให้คลุมส่วนที่เป็นสีดำแทน
16. คลิกพาเลท Layers เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการทำเลเยอร์มาส์ค
17. คลิก Layer1 เพื่อเลือกการทำงานให้อยู่ที่เลเยอร์นี้
18. คลิกไอคอนรูปดวงตา เพื่อซ่อนเลเยอร์ Background
19. คลิกปุ่ม Add Layer mask เพื่อซ่อนพื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นหลัง
20. ภาพที่ได้จะถูกตัดฉากหลังทิ้งไปเหลือแต่เส้นผมที่ยังคงรายละเอียดเดิมอยู่
Step 2 เทคนิคการนำภาพไดคัตไปใช้งาน
1. เปิดภาพชื่อ Chapter6-007.jpg
2. ใช้เครื่องมือ Move Tool ลากภาพที่ไดคัตไว้บนภาพกำแพง
3. ลักษณะของภาพที่ได้ ซึ่งจะเห็นขอบสีฟ้าอยู่รอบเส้นผมด้วย
4. ลบเลเยอร์มาส์คทิ้ง โดยลาก Layer mask thumbnail ไปทิ้งบนไอคอนถังขยะ
5. คลิกปุ่ม Apply เพื่อยืนยันการลบ
6. คลิกเมนู Layer > Matting> Remove White Mattle เพื่อลบขอบสีขาวออกจากเส้นผม
7. ลักษณะภาพที่ได้ ดูกลมกลืนมากขึ้นแล้ว แต่ภาพยังมีสีอมฟ้าอยู่เล็กน้อย
8. คลิกเมนู Image > Adjustments > Photo Filter เพื่อปรับอุณหภูมิสีของภาพให้กลมกลืนกับฉากหลัง
9. คลิกเลือก Filter แบบ Warming Filter (85) เพื่อกำหนดให้สีที่ใช้เป็นสีส้ม
10. ปรับเพิ่มค่า Density = 30% เพื่อกำหนดให้ความเข้มของแสงสีส้มแรงขึ้นเล็กน้อย
11. ภาพที่เสร็จสมบูรณ์จะมีเส้นผมสลวยเหมือนเดิมและมีสีกลมกลืนกับฉากหลัง

เทคนิคการแปลงภาพสีเป็นขาวดำด้วยคำสั่ง calculation

การแปลงภาพสีเป็นขาวดำอย่างมีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้คำสั่ง Calculations ซึ่งลักษณะการทำงานของคำสั่งนี้คือ จะนำเอา Channel สีที่เข้มหรือเป็นส่วนประกอบหลักในภาพ และ Channel สีที่อ่อนสุดหรือเป็นส่วนประกอบที่น้อยที่สุดในภาพมาผสานรวมกัน ภาพที่ได้จึงมีระดับแสงขาวดำที่ดูมีมิติ ไม่แบนราบเหมือนกับการใช้คำสั่งอย่าง Desaturate หรือ Hue/Saturation ซึ่งขั้นตอนการแปลงสีด้วยคำสั่ง Calculations สามารถทำได้ดังนี้
1. เปิดภาพชื่อ chapter9-006.jpg
2. คลิกเมนู Image > Calculations เพื่อเรียกหน้าต่างการปรับแต่งขึ้นมา
3. คลิกเลือก Channel เป็น Red เพราะสีแดงคือส่วนประกอบหลักของสีผิวและเป็นสีหลักที่ชัดเจนที่สุดของผ้าพันคอ
4. คลิกเลือก Channel เป็น Green เพราะสีเขียวแทบจะไม่เป็นส่วนประกอบใดในภาพเลย แต่ถ้าหากภาพที่ได้ออกมาไม่ดีนักก็สามารถเลือก Channel อื่น ๆ ได้อีก
5. ลักษณะของภาพที่ได้ดูเข้มและมีคอนทราสต์ระหว่างแสงและเงาสูงมาก
6. เปลี่ยน Blending เป็น Darken เพื่อให้บริเวณของChannel สีเขียวที่สว่างกว่ามืดลง แต่ก็สามารถเลือกใช้ Blending ตัวอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยจะต้องพิจารณาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
7. ปรับลดค่า Opacity เป็น 90% เพื่อลดความเข้มของการผสานเลเยอร์ทั้งสองไม่ให้มืดมากนัก
8. คลิกเลือก New Document เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้สร้างเป็นเอกสารใหม่ ซึ่งจะมีโหมดสีเป็นแบบ Mutichannel
9. ลักษณะของภาพที่คงรายละเอียดของภาพไว้ได้อย่างชัดเจน

เทคนิคการแต่สีอย่างมือโปร (chapter5-013.jpg)

1. เปิดภาพ
2. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Levels เพื่อปรับระดับความสว่าง
3. แดรกเมาส์เลื่อนแถบ Shadow , Midtion, Highlight เพื่อกำหนดระดับความสว่างใหม่ให้ภาพ หรือใส่ค่า 20 , 1 , 25 , 230 ในช่อง Input Levels
4. ภาพผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งจะเห็นรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น
5. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Hue/Saturation เพื่อเพิ่มความอิ่มตัวของสี
6. เพิ่มค่า Saturation = +30 เพื่อเพิ่มระดับความอิ่มตัวของสีให้มากขึ้น
7. คลิกปุ่ม OK
8. ภาพที่ได้สดใสมากขึ้น
9. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือกคำสั่ง Selective Color เพื่อเลือกปรับสีที่ต้องการให้สดใสมากขึ้น
10. คลิกเลือก Colors เป็น Cyans เพื่อเลือกปรับแต่งสีฟ้า
11. ปรับแต่งค่าต่าง ๆ โดยเพิ่ม Cyan = +100% และ Black = +100 % เพื่อให้ท้องฟ้ามีสีที่เข้มขึ้น
12. ภาพที่ได้มีสีของท้องฟ้าที่เข้มขึ้นมาก
13. คลิกเลือก Colors เป็น Reds เพื่อเลือกปรับแต่งสีแดง
14. ปรับแต่งค่าต่าง ๆ โดยเพิ่ม Magenta = +40% ,Yellow = +85 % และ Black = +20% เพื่อให้บริเวณที่เป็นสีแดงเข้มขึ้น
15. ภาพที่ได้จะเห็นว่าพื้นที่สีแดงเข้มขึ้นแล้ว
16. คลิกเลือก Colors เป็น Yellows เพื่อเลือกปรับแต่งสีเหลือง
17. ปรับแต่งค่าต่าง ๆ โดยใส่ค่า Magenta = -25% , Yellow = +100% และ Black = +20% เพื่อให้บริเวณที่เป็นสีเหลืองสดใสขึ้น
18. ลักษณะของภาพที่ได้มีสีเข้มขึ้น แต่ส่วนที่เป็นเงาดูมืดเกินไป
19. คลิกเลือก Colors เป็น Neutrals เพื่อเลือกปรับแต่งสีทั้งหมดที่อยู่ในโทนกลาง
20. ปรับแต่งค่าต่าง ๆ โดยให้ Black = -20% เพื่อลดความมืดในส่วนเงา
21. ลักษณะของภาพที่ได้จะคมชัดสดใสมากขึ้นและส่วนที่เป็นเงาก็ไม่มืดทึบเกินไปด้วย

เทคนิคการแก้ไขสีผิวให้เป็นธรรมชาติด้วย Curves (chapter5-008.jpg)

Step 1 วิเคราะห์ค่าสีผิวเบื้องต้น
1. เปิดภาพ
2. คลิกเครื่องมือ Color Sampler Tool เพื่อใช้เก็บค่าสีที่ต้องการนำไปวิเคราะห์
3. คลิกเลือก Sample Size เป็น 5 by 5 Average เพื่อนำค่าสีที่อยู่ใกล้เคียงไปวิเคราะห์ด้วย
4. คลิกลงไปบนผิวหน้า บริเวณที่ต้องการนำค่าไปวิเคราะห์
5. คลิกพาเลท Info เพื่อดูค่าของสีที่เลือกไว้
6. คลิกเครื่องมือ Tracks Sampler Color Vales แล้วเลือก CMYK Color เพราะการวิเคราะห์สีต้องแปลงค่าให้เป็น CMYK
7. ตัวเลขแสดงค่าของสีผิว ซึ่งค่าต่าง ๆ จะสูงมาก จนทำให้สีผิวดูไม่เป็นธรรมชาติ

Step 2 วิธีการแก้ไขสีผิวด้วย Curves
1. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer จากพาเลท Layers แล้วเลือก Curves เพื่อเรียก
หน้าต่างการปรับแต่งขึ้นมา
2. หน้าต่าง Curves ปรากฏขึ้นมาพร้อมใช้งาน
3. Ctrl + คลิก บนจุด Sampler Point ที่สร้างขึ้นจากขั้นตอนที่ผ่านมา
4. ปรากฏจุดยึดบนเส้น Curves ซึ่งแสดงระดับความสว่างของสีที่เลือกไว้
5. ค่าสีจากจุด Sampler Point ปรากฏบนพาเลท Info
6. แดรกเมาส์เลื่อนจุดยึดบนเส้น Curves ไปด้านบนเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น
7. ค่าสีดำ (K) บนพาเลท Info ถูกลดเหลือ 0%
8. ภาพที่ได้จะสว่างขึ้นแต่ยังคงติดสีเขียวอยู่มาก
9. คลิกเลือก Green จากช่อง Channel เพื่อเลือกค่าเริ่มต้นการปรับแต่งเป็นสีเขียว
10. Ctrl + คลิก จุด Sampler Point บนภาพอีกครั้ง
11. แดรกเมาส์เลื่อนจุดยึดบนเส้น Curves ลงมาด้านล่างเล็กน้อยเพื่อลดสีเขียวและเพิ่มสีแดงอมชมพูเข้าไป
12. ค่าสีต่าง ๆ ถูกลดลงและใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่สีฟ้ามีมากเกินไปซึ่งดูได้จากค่า C ในพาเลท Info
13. ภาพที่ได้ดูสว่างขึ้น และสีเขียวถูกลดลงจนเห็นสีผิวที่สวยขึ้น
14. คลิกเลือก Red จากช่อง Channel เพื่อลดสีฟ้า (C) โดยเพิ่มสีแดงเข้าไป
15. กด Ctrl + คลิก จุด Sampler Point บนภาพอีกครั้ง
16. แดรกเมาส์เลื่อนจุดยึดบนเส้น Curves ไปด้านบนเล็กน้อยเพื่อเพิ่มสีแดงเข้าไป
17. ค่าสีฟ้า (C) บนพาเลท Info ลดเหลือ 1 ใน 3 ของค่าสีแดงอมชมพู (M) ตามที่กำหนดไว้
18. สีผิวดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นแล้ว

เทคนิคการเพิ่มสีให้ภาพสีซีดด้วย Blend If

Blend If คื อ คำสั่งที่ซ่อยอยู่ โดยผู้ใช้งาน Photoshop หลักการทำงานของ Blend If นั้นมีไว้ปรับแต่งพื้นที่ของการทำ Layer Blending ว่าต้องการให้มีผลต่อส่วนใดของภาพบ้าง ซึ่งโดยปกติ Layer Blending จะมีผลต่อภาพทั้งภาพเลย ดังนั้น จึงทำให้เราสามารถเลือกพื้นที่ที่ต้องการเร่งสีให้เข้มขึ้น หรืออาจจะเลือกใช้สีสำหรับบางพื้นที่ก็ได้ โดยมีวิธีการทำ ดังนี้
1. เปิดภาพชื่อ chapter9-009.jpg
2. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer แล้วเลือกคำสั่ง Solid Color เพื่อสร้างเลเยอร์สีพื้นขึ้นมาใหม่
3. เลือกสีเขียวจากหน้าต่าง Color Picker เพราะต้องการปรับแต่งภาพให้มีสีอมเขียวมากขึ้น
4. คลิกปุ่ม OK
5. ดับเบิลคลิกด้านหลังชื่อของเลเยอรื Color Fill1 เพื่อเปิดหน้าต่าง Layer Style ขึ้นมา
6. แดรกเมาส์เลื่อนแถบ Underlying Layer ไปทางขวามือ เพื่อลดพื้นที่การทำงานส่วนที่เป็นเงา โดยให้สีเขียวที่สร้างขึ้นมีผลต่อส่วนสว่างที่อยู่ด้านหลัง
7. พื้นที่สีเขียวลดลงคลุมพื้นที่ภูเขาที่อยู่ด้านหลังและบางส่วนของด้านหน้าเท่านั้น
8. กดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วแดรกเมาส์แยกแถบเลื่อน เพื่อให้สีเขียวในเลเยอร์ Color Fill 1 ฟุ้งกระจายมากขึ้น
9. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Soft Light เพื่อให้สีเขียวกับภาพในเลเยอร์ Background ผสมกลมกลืนกันมากขึ้น
10. ลักษณะของภาพที่ได้ท้องฟ้าด้านหลังมีสีเขียว ทำให้ภาพดูนุ่มนวลขึ้นแล้ว
11. สร้างเลเยอร์ Color Fill 2 ด้วยวิธีการเดิม โดยเลือกเป็นสีเขียวอ่อน
12. ดับเบิลคลิกด้านหลังของเลเยอร์ Color Fill 2 เพื่อเปิดหน้าต่าง Layer Style ขึ้นมา
13. แดรกเมาส์เลื่อนแถบ Underlying Layer ไปทางขวามือ เพื่อลดพื้นที่การทำงานของสีเขียวอ่อนให้น้อยลงกว่าการทำในครั้งที่ผ่านมา
14. พื้นที่สีเขียวอ่อนลงคลุมพื้นที่ภูเขาด้านหลังและท้องฟ้า
15. กดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วแดรกเมาส์แยกแถบเลื่อน เพื่อให้สีเขียวอ่อนในเลเยอร์ Color Fill 2 ฟุ้งกระจายมากขึ้น
16. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Soft Light เพื่อให้สีเขียวอ่อนกับภาพในเลเยอร์ล่างผสมกัน
17. ลักษณะของภาพที่ได้ ท้องฟ้าด้านหลังมีสีเขียวอมฟ้ามากขึ้น
18. สร้างเลเยอร์ Color Fill 3 ด้วยวิธีการเดิมอีกครั้ง โดยเลือกเป็นสีฟ้าอ่อน
19. ดับเบิลคลิกด้านหลังของเลเยอร์ Color Fill 3 เพื่อเปิดหน้าต่าง Layer Style ขึ้นมา
20. แดรกเมาส์เลื่อนแถบของ Underlying layer ไปทางขวามือ เพื่อลดพื้นที่การทำงานของสีฟ้าให้กินพื้นที่ส่วนที่เป็นท้องฟ้าเท่านั้น
21. พื้นที่สีฟ้าลดลงคลุมพื้นที่ท้องฟ้าด้านหลังและบางส่วนของภูเขา
22. กดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วแดรกเมาส์แยกแถบเลื่อน เพื่อให้สีฟ้าในเลเยอร์ Color Fill3 ฟุ้งกระจายมากขึ้น
23. เปลี่ยนเบลนโหมดเป็น Soft Light เพื่อใฟ้สีฟ้ากับภาพในเลเยอร์ล่างผสมกัน
24. ลักษณะของภาพที่ได้มีท้องฟ้าที่เข้มมากขึ้นและมีสีนุ่มนวลสบายตา

เทคนิคแปลงภาพสีเป็นขาวดำ

การแปลงภาพสีให้เป็นภาพขาวดำด้วย Photoshop จะใช้หลักการเฉลี่ยค่าความสว่างของ Channel สีทั้ง 3 ได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
การใช้คำสั่ง Channel Mixer แปลงภาพสีให้เป็นภาพขาวดำมีหลักการอยู่เพียงเล็กน้อยคือ การกำหนดค่าให้กับแต่ละ Channel ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน โดยสามารถกำหนดได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ แต่ค่าทั้งหมดจะต้องรวมกันเป็น 100% พอดี ถ้าหากกำหนดค่าใดค่าหนึ่งมากเกินไปก็จะทำให้ได้แสงของ Channel นั้นโอเวอร์เกินจริง
หลักการสำหรับกำหนดค่าให้กับ Channel Mixer นั้น จะต้องพิจารณาว่าภาพมีองค์ประกอบของสิ่งใดอยู่บ้าง ถ้าหากเป็นภาพคนก็ควรเน้นค่า Channel สีแดงและสีเขียวให้มาก ๆ เพื่อให้ผิวดูสว่างไม่ทึบเกินไป หรือถ้าหากเป็นภาพต้นไม้ใบหญ้าที่มีสีเขียวมาก ๆ ก็อาจเพิ่มค่าให้กับ Channel สีเขียวให้มากขึ้นก็ได้ เพื่อให้ภาพไม่ดูมืดทึบมากไป เป็นต้น ซึ่งขึ้นตอนการปรับแต่งภาพโดย Channel Mixer สามารถทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. เปิดภาพชื่อ Chapter9-005.jpg
2. คลิกปุ่ม Create new fill or adjustment layer แล้วเลือกคำสั่ง Channel Mixer เพื่อเปลี่ยนภาพสีให้เป็นขาวดำ
3. คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า Monochrome เพื่อปรับแต่งสีเป็นโหมดสีแบบ Grayscale
4. ปรับลดสีแดงให้เหลือ +40% เพื่อลดระดับความสว่างของแสงสีแดง
5. ปรับเพิ่มสีเขียวเป็น +50% เพื่อให้โทนสีเขียวในภาพสว่างขึ้น
6. ปรับเพิ่มสีน้ำเงินเล็กน้อยเป็น +10% เพื่อเน้นรายละเอียดของปากให้มากขึ้น
7. ลักษณะของภาพที่ได้จะเป็นภาพขาวดำที่มีระดับสีที่สมดุล และคงรายละเอียดของทุกส่วนไว้ได้เป็นอย่างดี

คอมพิวเตอร์กราฟิก